1. คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทตอบ 8 ประเภท 1.1 ประเภท ซูเปอร์คอมพิวเตอร์(Supercomputer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่า คอมพิวเตอร์ แบบอื่น ดังนั้นจึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ สามารถคำนวนเลขที่มีจุดทศนิยม ด้วยความเร็วสูงมาก ขนาดหลายร้อยล้านจำนวนต่อวินาที งานที่ให้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำแค่ 1 วินาที ถ้าหากเอามาให้คนอย่างเราคิด อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าร้อยปี ด้วยเหตุนี้ จึงเหมาะที่จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เมื่อต้องมีการคำนวนมากๆ อย่างเช่น งานวิเคราะห์ภาพถ่าย จากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา หรือดาวเทียมสำรวจทรัพยากร งานวิเคราะห์พยากรณ์อากาศ งานทำแบบจำลองโมเลกุล ของสารเคมี งานวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร ที่ซับซ้อน คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ มีราคาค่อนข้างแพง ปัจจุบันประเทศไทย มีเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray YMP ใช้ในงานวิจัย อยู่ที่
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สมรรถภาพสูง (HPCC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ผู้ใช้เป็นนักวิจัยด้านวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
ที่มา
www.sukhothaitc.ac.th/e_learning/combasic3.htm1.2 ประเภท เมนเฟรมคอมพิวเตอร์(Mainframe Computer)
คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ คือปกติสามารถทำงานได้รวดเร็ว หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที สำหรับสาเหตุที่ได้ชื่อว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็เพราะครั้งแรกที่สร้างคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ได้สร้างไว้บนฐานรองรับ ที่เรียกว่า คัสซี่ (Chassis) โดยมีชื่อเรียกฐานรองรับนี้ว่า เมนเฟรม นั่นเอง เหมาะกับการใช้งาน ทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆ เช่น งานธนาคาร ซึ่งต้องตรวจสอบบัญชีลูกค้าหลายคน งานของสำนักงานทะเบียนราษฎร์ ที่เก็บรายชื่อประชาชนประมาณ 60 ล้านคน พร้อมรายละเอียดต่างๆ งานจัดการบันทึกการส่งเงิน ของผู้ประกับตนหลายล้านคน ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน คอมพิวเตอร์เมนเฟรม ที่มีชื่อเสียงมาก คือ เครื่องของบริษัท IBM ในปัจจุบัน ความนิยมใช้เครื่องเมนเฟรม ในหน่วยงานต่างๆ ได้ลดน้อยลงมาก เพราะราคาเครื่องค่อนข้างแพง การใช้งานค่อนข้างยาก และมีผู้รู้ด้านนี้ค่อนข้างน้อย สถานศึกษาที่มีเครื่องระดับนี้ไว้ใช้สอน ก็มีเพียงไม่กี่แห่ง เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งคือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกว่า ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะมากขึ้น จนสามารถทำงานได้เท่ากับเครื่องเมนเฟรม แต่ราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตามเครื่องเมนเฟรม ยังคงมีความจำเป็น ในงานที่ต้องใช้ข้อมูลมากๆ พร้อมๆ กันอยู่ต่อไปอีก ทั้งนี้เพราะ เครื่องเมนเฟรมสามารถพ่วงต่อ และควบคุมอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เครื่องขับจานแม่เหล็ก ฯลฯ ได้เป็นจำนวนมากในเวลาเดียวกัน
ที่มา
www.geocities.com/kwang43119853/a5.html1.3 มินิคอมพิวเตอร์(Minicomputer)
ความหมายหมายถึงคอมพิวเตอร์ขนาดกลางระหว่าง ขนาดใหญ่ (mainframe) และขนาดส่วนบุคคล (micro computer) การที่จะกำหนดว่าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเป็นขนาดใดนั้น ไม่มีตัวกำหนดบ่งบอกไว้แน่นอน ขึ้นกับบริษัทที่เป็นผู้ผลิตจะเรียกเอง เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะน้อยกว่าเครื่องเมนเฟรม คือทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตามจุดเด่นสำคัญ ของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม การใช้งานก็ไม่ต้องใช้ บุคลากรมากนัก นอกจากนั้น ยังมีผู้ที่รู้วิธีใช้มากกว่าด้วย เพราะเครื่องประเภทนี้ มีใช้ตามสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาหลายแห่ง มินิคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานหลากหลายประเภท คือใช้ได้ทั้งในงานวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม เครื่องที่มีใช้ตามหน่วยงานราชการระดับกรมส่วนใหญ่ มักจะเป็นเครื่องประเภทนี้ เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับความนิยมใช้กันมี บริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC เครื่อง Unisys ของบริษัท Unisys เครื่อง NEC ของบริษัท NEC เครื่อง Nixdorf ของบริษัท Siemens-Nixdorf เครื่อง NCR ของบริษัท NCR
ที่มา
http://www.sukhothaitc.ac.th/e_learning/combasic5.htm1.4 เวิร์คสเตชั่น(Workstation หรือ Supermicro)
ในการทำงานบนเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะสามารถควบคุมการรับข้อมูลและดูการแสดงผลบนจอภาพได้เท่านั้น ไม่สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ได้ แต่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ชนิดที่มีผู้ใช้คนเดียวนั้น จะทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างต่าง ๆ ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล ตลอดจนหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง นอกจากนี้ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้โปรแกรมได้เอง โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องไปแย่งเวลาการเรียกใช้ข้อมูลกับผู้ใช้อื่น
คอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้คนเดียว สามารถแบ่งออกเป็น 2 รุ่น คือ
เวิร์คสเตชั่น ถูกออกแบบมาให้เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่มีความสามารถในการคำนวนด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่นๆ ที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟฟิกต่าง ๆ เช่น การนำมาช่วยออกแบบภาพกราฟฟิกในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อออกแบบชิ้นส่วนใหม่ ๆ เป็นต้น ซึ่งจากการที่ต้องทำงานกราฟฟิกที่มีความละเอียดสูง ทำให้เวิร์คสเตชั่นใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพมาก รวมทั้งมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจำนวนมากด้วย มีผู้ใช้บางกลุ่มเรียกเครื่องระดับเวิร์คสเตชั่นนี้ว่า ซูเปอร์ไมโคร (supermicro) เพราะออกแบบมาให้ใช้งานแบบตั้งโต๊ะ แต่ชิปที่ใช้ทำงานนั้นแตกต่างกันมาก เนื่องจาก เวิร์คสเตชั่นส่วนมากใช้ชิปประเภท RISC (reduce instruction set computer) ซึ่งเป็นชิปที่ลดจำนวนคำสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จำเป็น เพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง ไมโครคอมพิวเตอร์ ได้ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1975 และได้รับความนิยมอย่างเมื่อ IBM ได้สร้างเครื่อง IBM PC ออกมา ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันจะมี 2 ชนิดคือ Apple Macintosh และ IBM PC ในปัจจุบัน ความแตกต่างหรือช่องว่างระหว่างเครื่องเวิร์คสเตชั่นและเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เริ่มลดน้อยลงเรื่อย ๆ เพราะเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับสูงในปัจจุบัน มีประสิทธิภาพของเครื่องและความเร็วในการแสดงผลที่ดีกว่าเครื่องเวิร์คสเตชั่นจำนวนมาก
ที่มา http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20intro1.htm
1.5 ไมโครคอมพิวเตอร์(Microcomputer)
การจัดหาคอมพิวเตอร์มาใช้นั้น จำเป็นจะต้องแน่ใจว่าเราได้อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นครบถ้วน และมีคุณสมบัติตรงกับงานที่เราต้องการใช้ ด้วยเหตุนี้เราจึงควรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์บ้างพอสมควร คอมพิวเตอร์นั้นมีอยู่หลายขนาดตั้งแต่ชนิดที่เร็วมากๆ และราคาแพงสุดขีด อย่างเช่น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไปจนถึงชนิดราคาถูกอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นทุกวันนี้ยังมีผู้ผลิตอุปกรณ์ประกอบที่มีคุณลักษณะพิเศษออกมาอย่างไม่รู้จบสิ้น ดังนั้น การที่จะรู้และเข้าใจคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ไปหมดทุกแบบทุกรุ่นจึงเป็นไปได้ยาก ข้อกำหนดอุปกรณ์พื้นฐานของไมโครคอมพิวเตอร์พอสังเขป
ไมโครคอมพิวเตอร์แต่ละชุดนั้นมีอุปกรณ์ที่ต้องสนใจอยู่ 5 รายการด้วยกัน
1. หน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกย่อๆว่า ซี.พี.ยู
2. หน่วยขับจานแม่เหล็ก ซึ่งมีทั้งชนิดจานอ่อน Floppy Dish และชนิดจานแข่ง Hard Dish
3. จอภาพ Monitor
4. แป้นพิมพ์
5. เครื่องพิมพ์
อุปกรณ์ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีเพียงแค่นี้ ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ขายอยู่ทั่งๆไปอาจแบ่งได้ 4 ประเภทใหญ่ดังนี้
ประเภทแรก คือ พีซี หรือ ไอ.บี.เอ็ม. นำออกสู่ตลาดเมื่อแปดปีก่อน เครื่องพีซีก็กลายเป็นมาตราฐานของไมโครคอมพิวเตอร์ไป เครื่องประเภทนี้มีเกือบ 90% ของเครื่องที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้
ประเภทที่สอง คือ แมคอินทอช หรือแอปเปิล แมคอินทอชของบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเคยโด่งดังในฐานะผู้บุกเบิกยุทธจักรไมโครคอมพิวเตอร์ และมีจุดเด่นในด้านการทำภาพกราฟฟิก ในเมืองไทยนั้นตามบริษัท สำนักพิมพ์ทั้งหลายล้วนแต่ใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้
ประเภทที่สาม คือ ซูเปอร์ไมโครคอมพิวเตอร์ คำว่า ซูเปอร์ที่เติมเข้าไปข้างหน้าหน้านั้นบอกอยู่แล้วว่า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีพลังงานมากกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ธรรมดาคือมีหน่วยประมวลผลกลางหน่วยเดียวแต่มีจอภาพ และแป้นพิมพ์พ่วงมาใช้งานในเวลาเดียวกันได้หลายชุด เครื่องประเภทนี้พอมีขายอยู่บ้างในเมืองไทย แต่มีไม่มากเท่าเครื่องพีซีธรรมดา
ประเภทที่สี่ คือ สถานี หรือ Work station คำนี้หมายถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้งานสามารถนั่งใช้งานกับมันทุกอย่างเท่าที่ต้องการ โดยไม่ต้องลุกไปใช้เครื่องอื่นๆช่วย นั่นแสดงว่าสถานีงานมีความสามารถมากกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพีซีธรรมดา ความสามารถนี้ได้แก่ ความเร็วในการคำนวนสูงกว่าจอภาพของเครื่องพีซีทั่วไป จอภาพมีขนาดใหญ่กว่าของเครื่องพีซี เป็นต้น
ที่มา
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-810.html1.6 พีดีเอ(PDA-Personal Dingital Assistant) พีดีเอ หรือ เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (
ภาษาอังกฤษ: PDA ย่อมาจาก Personal digital assistants) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถพกพานำติดตัวได้ เริ่มพัฒนามาจากเครื่องออกาไนเซอร์มาก่อน ซึ่งพีดีเอที่ใช้ระบบปฏิบัติการ
วินโดวส์โมเบิลมักถูกเรียกว่า
พ็อคเกตพีซี แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ
ปาล์ม (Palm)เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่เปิดตลาดมาก่อน แต่ก่อนนั้นใช้งานสำหรับเป็นเครื่องบันทึกช่วยจำต่างๆ เช่น การนัดหมาย ปฏิทิน สมุดโทรศัพท์ แต่ปัจจุบันพัฒนาคุณภาพมากขึ้นจนมีระบบปฏิบัติการของตัวเองเรียกว่า Palm Os
พ็อกเก็ตพีซี(Pocket PC) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อำนวยความสะดวกได้ดีเช่นเดียวกับ ปาล์ม โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะผลิตจากบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านคอมพิวเตอร์ แตกต่างจากปาล์มที่จะอิงค่ายไมโครซอฟท์เป็นหลัก แต่กินกำลังเครื่องมากกว่าปาล์ม
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/à¸à¸µà¸à¸µà¹à¸1.7 คอมพิวเตอร์เครือข่าย (Network computers)
เป็นคอมพิวเตอร์แบบใหม่ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากไมโครคอมพิวเตอร์ โดยได้รับอิทธิพลมาจากแนวคอมพิวเตอร์อินเตอร์เนต คอมพิวเตอร์เครือข่ายหรือที่นิยมเรียกว่า NC จะถูกออกแบบให้เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาต่ำ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาน้อย ทำให้เหมาะสมกับการใช้งานปริมาณมาก ๆ ในองค์กรขนาดใหญ่ รวมทั้งการเชื่อมต่ออินเตอร์เนต
คอมพิวเตอร์เครือข่ายจะไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองอยู่ในตัว การจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมตะอยู่เครื่องศูนย์กลาง (Server) ซึ่งมีข้อดีคือการเปลี่ยนรุ่น (upgrade) ซอฟต์แวร์สามารถทำงานได้ง่าย สามารถทำงานจากเครื่องคอมพิวตอร์เครือข่ายเครื่องใดก็ได้ รวมทั้งง่ายต่อการดูแลรักษา (mailtenance) ของผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์
ที่มา http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20intro1.htm
1.8 คอมพิวเตอร์แบบฝัง(Embedded System)
คอมพิวเตอร์ฝังตัวหรือ Embedded System คือระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ประมวลผลด้วยซีพียู แต่จะต่างจากที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน้ตบุ๊ค หรือเครื่องเวิร์คสเตชั่น โดยที่คอมพิวเตอร์ฝังตัวมักจะใช้ชิพที่ออกแบบมาเฉพาะมากกว่า ที่ผ่านมาคอมพิวเตอร์ฝังตัวได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในรถยนต์ เครื่องบิน รถไฟ ยานอวกาศ กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและสำนักงาน และที่คนจำนวนมากใช้งานกันอยู่ทุกวันโดยไม่รู้ตัวก็คือ โทรศัพท์มือถือ รวมถึงพวกพีดีเอ ตลอดจนของเล่นอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ "ที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ล่องหนก็เพราะต้องการสื่อให้คนทั่วไปเข้าใจ คอมพิวเตอร์ล่องหน ก็คือคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง เพียงแต่ว่าเรามองไม่เห็นตัว ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป หรือแลปท็อปที่เราใช้กัน" ดร.พันศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญประจำศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค และยังเป็นประธานสมาคมสมองกลฝังตัวกล่าว ส่วนความหมายโดยตรงตัวนั้น ดร.พันศักดิ์ ขยายความให้ฟังว่า คอมพิวเตอร์ฝังตัว หรือล่องหนนี้คือ อุปกรณ์ที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีเจ้าตัวไมโครชิพที่มีการเขียนโปรแกรมใส่เข้าไป ไมโครชิพที่ว่านี้มีหลายรูปแบบ เป็นทั้งแบบไม่ต้องมีโปรแกรมทำได้เลย กับแบบที่ต้องเขียนโปรแกรมเข้าไป เจ้าตัวคอมพิวเตอร์ล่องหนนี้ หมายถึงระบบที่มีเจ้าไมโครชิพทำหน้าที่ควบคุมอยู่ และการควบคุมนั้น เป็นการควบคุมโดยการเขียนโปรแกรมฝังเข้าไป" อุปกรณ์ที่มีระบบคอมพิวเตอร์ฝังตัว หรือล่องหนอยู่ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ โทรศัพท์มือถือ ยกตัวอย่างโทรศัพท์มือถือเอสพีวีที่ ทีเอ ออเร้นจ์ นำมาเปิดตัวเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา เป็นโทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการสมาร์ทโฟน 2002 ของไมโครซอฟท์ ทั้งๆ ที่โดยรูปร่างแล้ว คนส่วนใหญ่จะไม่อาจเรียกมันได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ แต่ในความเป็นจริง มันเป็นคอมพิวเตอร์ดีๆ นี่เอง ภายในประกอบด้วยบอร์ดวงจร และหน่วยความจำ ที่สำคัญที่สุดคือ ไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งผู้ผลิตเอสพีวีนำมาใช้เป็นไมโครชิพของ ARM เวอร์ชั่น 720 เช่นเดียวกับ พีดีเอ iPaq ซึ่งรุ่นก่อนหน้านี้ก็ใช้ไมโครชิพของ ARM รุ่น SA1110 และเพิ่งจะเปลี่ยนมาใช้โปรเซสเซอร์ Xscale ของอินเทล ซึ่งประหยัดแบตเตอรี่มากกว่าและมีความเร็วสูงกว่า
ที่มา http://www.invisionplus.net/forums/index.php?mforum=ectkmitnb&showtopic=550
2. คอมพิวเตอร์แบบฝัง คืออะไร ใช้ประโยชน์อะไรบ้าง
ตอบ คอมพิวเตอร์ฝังตัวหรือ Embedded System คือระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ประมวลผลด้วยซีพียู แต่จะต่างจากที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน้ตบุ๊ค หรือเครื่องเวิร์คสเตชั่น โดยที่คอมพิวเตอร์ฝังตัวมักจะใช้ชิพที่ออกแบบมาเฉพาะมากกว่า ที่ผ่านมาคอมพิวเตอร์ฝังตัวได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในรถยนต์ เครื่องบิน รถไฟ ยานอวกาศ กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและสำนักงาน และที่คนจำนวนมากใช้งานกันอยู่ทุกวันโดยไม่รู้ตัวก็คือ โทรศัพท์มือถือ รวมถึงพวกพีดีเอ ตลอดจนของเล่นอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
3. ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ข้อมูล ในระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง ข้อมูลดิบที่มีจำนวนมากอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร กราฟฟิก เป็น ข้อมูลที่ต้องการได้รับการประมวลผลเพื่อทราบผลลัพธ์ หรือต้องการจัดเก็บให้เป็นระบบระเรียบเพื่อใช้งานต่อไป
สารสนเทศ ในระบบคอมพิวเตอ ร์หมายถึง ผลลัพธ์ที่คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลแล้ว เพื่อนำไปใช้ตามความประสงค์ของผู้ใช้ ผลลัพธ์หรือ output นี้เรียกว่า สารสนเทศ (information) ซึ่งสามารถนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลในระดับต่อไป เช่น เป็นการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ จัดกลุ่ม สังเคราะห์ ประเมิน รวมทั้งปรับปรุงตามที่ผู้ใช้ต้องการ
การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล
ที่มา http://board.dserver.org/k/kitty2001/00000023.html
4.VLSI คืออะไร มีความสำคัญต่อคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ จากวงจรไอซีได้มีการพัฒนาวงจรรวมความจุสูงหรือแอลเอสไอ (Large Scale Integrated Circuit : LSI) ขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.2513 ทำให้สามารถบรรจุวงจรทรานซิสเตอร์จำนวนหลายพันตัวลงบนแผ่นซิลิคอนขนาด 1/6 ตารางนิ้ว นับเป็นการเริ่มยุคที่สี่ของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ระหว่าง พ.ศ.2513 – 2532 และในปี พ.ศ. 2518 สามารถเพิ่มปริมาณวงจรหลายหมื่นวงจรลงบนซิลิคอนขนาดเท่าเดิม เรียกว่า วงจรรวมความจุสูงมากหรือวีแอลเอสไอ (Very Large Scale Integrated Circuit : VLSI) จากการประดิษฐ์วีแอลเอสไอสามารถนำมาสร้างเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central Processing Unit : CPU) ของคอมพิวเตอร์ และสามารถลดขนาดของคอมพิวเตอร์ให้เล็กลงจนสามารถตั้งบนโต๊ะทำงานในสำนักงาน หรือพกพาไปในที่ต่างๆ เหมือนกระเป๋าหิ้วได้ เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกิดในยุคนี้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) นอกจากนี้ ยังสามารถนำวงจรวีแอลเอสไอมาสร้างเป็นหน่วยความจำรองที่สามารถเก็บข้อมูลในระหว่างที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ทำให้ได้หน่วยความจำที่มีความจุมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ยุคนี้จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนคอมพิวเตอร์นอกจากช่วยงานคำนวณแล้วยังสามารถทำงานเฉพาะทางอื่นๆ ได้มากกว่าช่วยงานคำนวณ เช่น การนำเสนอข้อมูลแบบสื่อประสม
ที่มา http://203.154.140.4/ebook/files/chap3-7.htm
5.นิสิตใช้คอมพิวเตอร์ในประโยชน์อะไรบ้าง
ตอบ 1. สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ส่วนใหญ่มักจะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องซักผ้า,พัดลม,โทรทัศท์,โทรศัพท์
2. คอมพิวเตอร์สามารถใช้ทำงานและสื่อบันเทิง เช่น ทำรายงาน,เล่นอินเตอร์เน็ตเป็นต้น